Shading COlours Welcome Glitter

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

ผลการเรียน 1/2556


สรุปงานวิจัย

การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
>>>เอราวรรณ ศรีจักร<<<
หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
...พฤศจิกายน 2550...


วิทยาศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวของกับชีวิตของทุกคน ทั้งในการดํารงชีวิตประจําวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆ ที่ใช้เพื่ออํานวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยใหเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมากในทางกลับกันเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างทใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียน ชาย -หญิง อายุ 4 - 5 ปกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างงาย จํานวน 15 คน เพื่อให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะเป็นระยะเวลา สัปดาห สัปดาหละ 3 วัน วันละ 30 นาที
          การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีความสําคัญต่อเด็กปฐมวัยในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ จึงแบงออกเป็น 4 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต  ทักษะการจําแนกประเภท  ทักษะการสื่อสาร  และทักษะการลงความเห็น ซึ่งสอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสําคัญสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็นเช่นกัน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
ทักษะการสังเกตของเด็กจะปรากฏให้เห็นด้วยการแสดงความสามารถโดยการบอกเล่าถึงลักษณะคุณสมบัติและการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา-ดู หู-ฟัง จมู-กดมกลิ่น ลิ้น-ชิมรส และผิวกาย-สัมผัส
2. ทักษะการจําแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจําแนกหรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา  3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์
พฤติกรรมที่บอกถึงความสามารถการจําแนกประเภทของเด็ก พบได้จากการบอกการจัดแบ่งการจัดเรียงลําดับวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยเป็นผู้กําหนดเกณฑ์ปฏิบัติตามเกณฑ์และบอกเกณฑ์ของผู้อื่นได้
3. ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล (Organization data and communication)
หมายถึง ความสามารถในการนําข้
อมูลที่ได้จากการสังเกต  การวัด  การทดลอง  และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดใหม่ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดเรียงลําดับ การจัดแยกประเภท เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชนิดนั้นๆ ดีขึ้น โดยการนําเสนอในรูปตาราง แผนภูมิแผนภาพ และกราฟ

เด็กเกิดทักษะการสื่อสาร คือ ความสามารถในการรับข้อมูลและส่งข้อมูล การส่งข้อมูล คือ การบอกเล่า การเลือกออกแบบวิธีการนําเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สามารถจัด เปลี่ยนแปลง และบรรยายข้อมูลได้อย่างถูกต้องชัดเจน สําหรับการรับข้อมูล คือ การทําความเข้าใจกับข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง
4. ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนําเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ
พฤติกรรมที่บอกถึงทักษะการลงความเห็นของเด็ก คือ การบอกเล่าความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยการใช้การสังเกตร่วมกับประสบการ์เดิมที่มีต่อวัตถุหรือเหตุการณ์นั้นๆ

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
จากกราฟ แสดงให้เห็นว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ พบว่า หลังจากใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะเด็กมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองทุกด้าน

ดาวน์โหลดฉบับเต็ม >>> การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

สรุปบทความวิทยาศาสตร์

สรุปบทความวิทยาศาสตร์ : เรื่องทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   

            เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
            ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี ทักษะกระบวนการ คือ                        
                                          1. ทักษะการสังเกต              
                                          2. ทักษะการจำแนกประเภท
 
                                                     3. ทักษะการวัด   
                                                      4. ทักษะการสื่อความหมาย
                                                      5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล     
                                                      7. ทักษะการคำนวณ
บทสรุป
จากที่อ่านมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ

อ้างอิงจาก :  วิทยาศาสตร์และการทดลอง

สรุปความรู้ที่ได้รับจาก VDO

 การฟังและตั้งคำถาม : การอภิปราย - Listening and Questioning : Discussion

  
            การสัมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการเรียนในชั้นปีแรกนำโดยชีล่าเซจ ผู้ให้คำปรึกษาได้พิจารณาหัวข้อที่ว่าผู้ปฏิบัติการจะสามารถจดจำวิธีที่แตกต่างกัน เมื่อเด็กเล็กๆ ตั้งคำถามได้อย่างไร ผู้เข้าร่วมสัมนากับเซจในครั้งนี้ ประกอบด้วย ยาน ดูเบียล  ตัวแทนจากแผนงานระดับปฐมวัย จากโปรแกรมวัดผลแห่งชาติ ไดแอน ริช จากศูนย์เพื่อโอกาส และการเรียนรู้ริช และคริส รอส พยาบาลภาคปฏิบัติจากโรงเรียนเตรียมอนุบาลอีฟแชม  ในวอร์เชสเตอร์เชียร์ ที่ประชุมได้มองย้อนกลับไป สัปดาห์ก่อนหน้าที่โรงเรียนเตรียมอนุบาลอีฟแชม  และพิจารณาว่าเด็กๆ เริ่มต้นเจาะลึกเรื่องสัดส่วนของน้ำได้อย่างไร  พวกเขาวิเคราะห์ชนิดของคำถามที่เด็กๆ ตั้งขึ้น และอภิปรายว่า  ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างวัฒนธรรมการฟังที่ดีได้อย่างไร พร้อมไปกับการส่งเสริมการตั้งคำถามให้กับเด็กๆ ด้วย

สรุปความรู้ที่ได้รับจาก VDO

ผลไม้แสนสนุก

จุดเด่นของเนื้อหา
            เนื้อหาในตอนนี้เป็นการนำเสนอการสอนในระดับอนุบาล โดยครูบูรณาการ ๓ กิจกรรม มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว เข้าจังหวะ โดยครูให้นักเรียนท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับผลไม้ตามครู แล้วเคลื่อนไหวอิสระไปตามใจชอบของนักเรียน ใช้คำคล้องจองจ้ำจี้ผลไม้ แตงไทย แตงกวา ขนุน น้อยหน่า พุทรา มังคุด ละมุด ลำไย... แล้วครูพานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ตลาด ได้พบปะแม่ค้า ฝึกการพูดถามราคา การขอบคุณแม่ค้า ครูจะสร้างข้อตกลงกับนักเรียนก่อนการเดินทางว่านักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร นักเรียนจะบอกว่า ไม่ควรวิ่ง ไม่คุยกัน ไม่ส่งเสียงดัง จะถามแม่ค้าอย่างไร เมื่อตกลงกับนักเรียนเรียบร้อยแล้ว จึงให้เดินทางพร้อมกัน นักเรียนได้ประสบการณ์ตรงในการซื้อผลไม้ ได้ดูการชั่งกิโลของแม่ค้า แล้วเมื่อกลับสู่ห้องเรียน ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมปั้นผลไม้โดยใช้ดินน้ำมันและวาดรูปผลไม้ตัดกระดาษ แปะ ระบายสีภาพ
การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
            กิจกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนระดับอนุบาลได้ โดยให้นักเรียนได้ไปตลาดใกล้โรงเรียน มีครูผู้ช่วยไปช่วยในการดูแลนักเรียนโดยจัดแบ่งเป็นกลุ่ม
เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
            นักเรียนและครูร่วมมือในการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ บางโรงเรียนที่มีครูน้อย อาจต้องขอความร่วมมือจากผู้ปกครองอาสาสมัครเพื่อช่วยพานักเรียนไปตลาดใกล้โรงเรียน หรือจำลองสถานการณ์โดยสร้างตลาดขึ้นมาในโรงเรียน

สรุปความรู้ที่ได้รับจาก VDO

สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

            เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ครูจึงมีหน้าที่ป้อนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น อย่างเรื่องของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ครูเด่นดวง ธรรมทวี ร.ร.บ้านสำโรงเกียรติ จ.ศรีสะเกษ ก็ได้นำสิ่งของใกล้ตัวของเด็กมาสอนเด็ก เช่น ได้รู้ว่าการที่เรามองเห็นสิ่งของต่างๆ และอธิบายได้ว่าของสิ่งนั้นมีลักษณะอย่างไร นั่นคือเราใช้ ตา ในการมองเห็น ซึ่งตาคือประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งนั่นเอง หรือการนำเอากลิ่นที่เด็กคุ้นเคยมาให้ทดลองดม เมื่อเด็กดมก็จะต้องบอกได้ว่ากลิ่นที่ดมไปคือ  กลิ่นอะไร  เป็นการสอนให้เด็กปฐมวัยได้มีความรู้เรื่องประสาทสัมผัสผ่านของจริงใกล้ตัว ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนชั้นสูงต่อไป

การทดลองวิทยาศาสตร์แสนสนุก

Fun Science Experiments for Kids
          การทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและน่าทึ่งสำหรับเด็กๆ เรามีการทดลองง่ายๆ ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในครัวมาให้เด็กๆ ลองเลือกสักอันเอาไปเล่นทดลองกันนะคะ