Shading COlours Welcome Glitter

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

เก็บตกรับน้อง ปี 2556

ภาพบรรยากาศ : รับน้องปี 1 อย่างสร้างสรรค์ ประจำปี 2556 สาขาการศึกษาปฐมวัย
วันศุกร์ ที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556

กีฬาสีประจำปี 2555

ภาพบรรยากาศ : กีฬาสีเชื่อมสายสัมพันธ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
วันเสาร์ ที่ 2 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556


ปฐมวัยกับอาเซียน

เตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน
 “เตรียมตน เตรียมคน เตรียมงาน เตรียมความพร้อมของลูกหลานคือรากฐานของการพัฒนา  คำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับกระแสอาเซียนในขณะนี้
คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียนกำหนดคุณลักษณะ 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านความรู้ 
        1.1 มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 
        1.2 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน                 
1.2.1 จุดกำเนิดอาเซียน                  
1.2.2 กฎบัตรอาเซียน
                  
1.2.3 ประชาคมอาเซียน
                  
1.2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน 
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ
        2.1 ทักษะพื้นฐาน                  
2.1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างน้อย 1 ภาษา)
                  
2.1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
                  
2.1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
                  
2.1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
         2.2 ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
                  
2.2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                  
2.2.2 มีภาวะผู้นา
                  
2.2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
          2.3 ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
                  
3.3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
                  
3.3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                  
3.3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
                  
3.3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
3. ด้านเจตคติ
            3.1 มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
            3.2 ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
            3.3 มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
            3.4 มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
            3.5 ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
            3.6 ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คุณลักษณะเด็กปฐมวัยก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน
          เมื่อเราได้ทราบถึงคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน การเตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนในส่วนของปฐมวัย ขอให้เรายึดเป้าหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ชัดเจน  ให้เด็กปฐมวัยของไทยเราได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมทุกด้าน และสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยของเรา คือ ทักษะการคิด วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา มีเหตุผล มีทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต และที่สำคัญมีความรักในความเป็นไทยให้มากขึ้น

สรุปงานวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
>>>ธัญสุตา  จิรกิตตยากร<<<
กรอบแนวคิดในการวิจัย 
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และทดลองประเมินโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนชั้นเด็กเล็กภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอน โดยการทดลองใช้กับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 1 ห้องเรียน ที่โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) กรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย โรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรมการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548
ขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัยและเด็กปฐมวัยของสถานศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนสามเสนนอก(ประชาราษฎร์อนุกูล) โรงเรียนวัดโตนด และโรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนละ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รวม 6 กิจกรรมการเรียนรู้

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นการคิด เป็นการนำปัญหากรณีต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นจูงใจหรือท้าทายให้เด็กเกิดการคิดและมองปัญหาโดยการสังเกต ครูจะใช้คำถา,กระตุ้นการคิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 2 สันนิษฐานคำตอบ เป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการคิดได้ทดสอบการคาดเดาตามหลักการโดยใช้ประสาทสัมผัสกำหนดความคาดหวังจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมองหาทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 พิสูจน์เหตุผล เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ จัดระบบและความเข้าใจโดยการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก และการนับ เพื่อหาเหตุผลในการตอบ ได้ตัดสินใจด้วยตัวเองได้คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน
ขั้นที่ 4 สรุปหลักการทางคณิตศาสตร์ เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์มองเห็นความเป็นเหตุเป็นผลจากการลงมือปฏิบัติการคิดของตนเองและเพื่อนแล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นคำตอบ

               2. การจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี้
1.  แจกแจงเหตุผล
2.  ความสัมพันธ์
3.  ความเชื่อมโยง
4.  ข้อสรุปทางคณิตศาสตร์
3. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการประเมินพบว่า
3.1 เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ 0.1
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยสนทนากับเด็กปฐมวัยจำนวน
70 คน พบว่าหลังการทดสอบเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมาก
3.3 การขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน ครูปฐมวัยที่ได้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนมีความพึงพอใจและเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก                     

การศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ประดิษฐ์สื่อการสอนคณิตศาสตร์


อบรมการเล่านิทาน


ประโยชน์ของการเล่านิทาน
        นิทานช่วยส่งเสริมสติปัญญาเด็ก  ช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต นอกจากนี้นิทานยังช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ  ฉลาด  แสดงความคิดเห็นถูกจังหวะ  นิทานทำให้เด็กจับประเด็น  วิเคราะห์เก่งและนิทานสร้างให้เด็กมีจินตนาการ  เรียกว่า  มีความฉลาดทางปัญญา(IQ)และความฉลาดทางอารมณ์(EQ)ด้วย  นิทานเป็นสื่อที่ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว  เพราะเด็กจะได้ยิน  ได้ฟังรูปประโยคของการใช้ภาษาทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

นิทรรศการเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซียน

โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
"คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน"
ร่วมฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี
วันที่ 6-7 กันยายน 2555
คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

นิทรรศการ : เตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซียน

การอบรมสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษสี




พุทธรักษาแทนใจมอบให้พ่อ
รู้ไหมหนอลูกรักพ่อเท่าชีวิน
พระคุณพ่อล้ำค่าอเนกอนันต์
พ่อของฉันเป็นคนดีที่หนึ่งเลย
ความรู้ที่ได้จากการอบรม
เมื่อก่อนเวลาเราจะจัดบอร์ดแต่ละครั้งต้องซื้อดอกไม้สำเร็จรูปเป็นชุด ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก  พอได้เข้าอบรมแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดบอร์ดไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ใบไม้และผลไม้ อาจารย์สอนเราทั้งหมด ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก แต่ต้องฝึกบ่อยๆให้ชำนาญ  จึงจะสวย  เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้จัดห้องซึ่งอนาคตเมื่อเราเป็นครู  เราต้องจัดบอร์ดให้เป็นจึงมีความจำเป็นมากค่ะ

ภาษาธรรมชาติ

แนวคิดที่ได้จาก VDO
       แม้ไม่เรียนเขียนอ่านเป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัย คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน

กิจกรรมเล่านิทาน Big Book

          กลุ่มของดิฉันได้ไปทำกิจกรรมเล่านิทาน Big Book เรื่องความสามัคคีของสัตว์ทั้งสี่  ให้น้องๆ ฟังที่สาธิตจันทรเกษม  

ค้นคว้าเพิ่มเติม
          มาทำความรู้จักกับ Big Books หรือขอเรียกชื่อเล่นว่า นิทานเล่มใหญ่ แทนก็แล้วกันนะคะ หลายๆคนที่เคยเห็นอาจจะทราบแล้วว่าเจ้านิทานเล่มโตนี้ ดีอย่างไร หากแต่หลายๆครั้งที่ได้ยินคำถามกลับมาว่า จริงๆแล้วหนังสือนิทานเล่มใหญ่ๆมีไว้เพื่ออะไร ดีอย่างไร เราดีใจค่ะที่มีคนถาม เพราะเราก็อยากตอบให้หายสงสัยกันสักที
Big Book เหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่
          จริงๆแล้วไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอายุของเด็ก ตราบเท่าที่น้องๆหนูๆอยากอ่านหนังสือขึ้นมาสักเล่ม ก็คงเป็นเรื่องน่ายินดี เริ่มแรกเลยหนังสือเล่มใหญ่นี้เอาไว้ใช้กับเด็กในวัยเริ่มหัดอ่านหนังสือ ตั้งแต่อนุบาล จนถึงประถมต้นค่ะ หรืออายุเริ่มต้นที่ 3 - 8 ขวบ โดยหนังสือที่สำนักพิมพ์เลือกมาทำให้เป็นเล่มใหญ่ๆนี้ จะเริ่มจากมีเนื้อหาจากน้อยๆ และเพิ่มปริมาณเนื้อหา คำศัพท์ มากขึ้นเรื่อยๆให้เหมาะสมกับอายุและการพัฒนาการ เนื้อเรื่องชวนอ่าน และที่สำคัญ สีสันสดใสมากๆค่ะ ในวัยเด็กๆแบบนี้จินตนาการจากรูปภาพ วิธีการจดจำคำศัพท์จากรูป จากเรื่องราวที่ได้เห็น ได้อ่าน จะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการได้ดีมากขึ้นนะคะ
Tip : ควรเลือกหนังสือที่มีคำศัพท์จากน้อย ไปหามาก ให้สำหรับเด็กอายุน้อย ไปหามากเช่นกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากอ่าน เพราะมันจะไม่เยอะเกินความสามารถพวกเขานั่นเองนะคะ
อ้างอิงจาก : Big Book - นิทานเล่มใหญ่